Get Adobe Flash player

จำนวนสมาชิกชมรม

สถิติผู้เข้าชม

000214390
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3
30
131
213759
1903
707
214390

Your IP: 3.16.218.62
Server Time: 2024-04-19 02:15:34

ผู้ใช้งานในขณะนี้

มี 2 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

วีรกรรมการรบของทหารม้าที่สมรภูมิบ้านพร้าว

     เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2484  ทหารม้าไทย โดยมี พันตรี สนิท หงษ์ประสงค์ เป็นผู้บังคับกองร้อยรถรบ ได้นำรถถังเบา แบบ 76 จำนวน 2 คัน เข้าสนธิกำลังกับกองพันทหารราบที่ 3 (ปัจจุบัน คือ ร.1 พัน.2 รอ.) เข้าต่อสู้กับกำลังรถถังของฝรั่งเศส จำนวน 5 คัน ที่แนวห้วยยาง ตำบลบ้านพร้าว  ห่างจากแนวชายแดนไทยด้านปราจีนบุรี (ปัจจุบัน จว.สระแก้ว) เข้าไปในประเทศกัมพูชา ประมาณ     10 กม. และปฏิบัติการรบอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว   สามารถทำลายกำลังพล และยุทโธปกรณ์ของข้าศึก   ได้เป็นจำนวนมาก  ทำให้ประสบชัยชนะ ยึดพื้นที่ในสมรภูมิ ได้ดินแดนกลับคืนมาถึง 69,000 ตร.กม. รวมทั้งยึด รถถังเรโนลต์ ยูอี ของฝรั่งเศสมาได้ 5 คัน (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยานรบ ศม.1 คัน) วีรกรรมครั้งนี้ กองพันทหารราบที่ 3 และกองร้อยรถรบทหารม้า ได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญ ประดับธงชัยเฉลิมพล เมื่อ 25 เม.ย. 2484 และพลประจำรถถังทุกคันได้รับเหรียญกล้าหาญเช่นกัน

ที่มาของแหล่งข้อมูล

1. เอกสารศูนย์การทหารม้าปี 2519
2. ข้อมูลประวัติศาสตร์ของ กองประวัติศาสตร์ทหาร ยก.ทบ. “การรบที่บ้านพร้าว”
3. วิทยานิพนธ์ เรื่องปัญหาการขาดแคลนยานรบที่มีประสิทธิภาพของกองทัพบก
โดย พ.อ.สำราญ สีตลารมณ์ เสนอต่อวิทยาลัยการทัพบก เมื่อ 19 ส.ค. 28
4. หนังสือ การจัดหน่วยในสงครามอินโดจีน และมหาเอเซียบูรพา พ.ศ. 2483-2488
5. บทความทางวิชาการในวารสารฟ้าหม่น ฉบับที่ 223 (มี.ค.-เม.ย. 33) และฉบับที่ 224 (พ.ค.-มิ.ย. 33) เรื่อง “จากวิกเกอร์ส ถึงสติงเรย์ โดย สำราญรมณ์”
6. คท. ประจำรถ และข้อมูลเกี่ยวกับยานรบในอดีต จากห้องสมุด ทบ. สหรัฐอเมริกา
7. ชุดภาพพระราชทาน ทรงทอดพระเนตรการฝึกวายุบุตร ณ เขากระเตย ถนนมิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2501 จากห้องสมุด กวก.ศม.
8. รูปภาพในภาคผนวก ของหนังสือเรื่องอนุสรณ์จากอดีต โดย ชาลี เอี่ยมกระสินธ์, ห้องสมุด กองวิทยาการ ศูนย์การทหารม้า

คำจำกัดความยานรบ ยานเกราะ รถเกราะ รถถัง และการแบ่งประเภทรถถัง

1. ยานรบ (Combat vehicle) คือ ยานพาหนะที่มีเกราะ หรือไม่มีเกราะ ซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการรบโดยเฉพาะ การติดตั้งเกราะป้องกัน หรือติดตั้งอาวุธยุทธภัณฑ์ เสริมให้แก่ยานพาหนะทั่วไป เป็นพิเศษ ไม่เป็นการเปลี่ยนประเภทของยานพาหนะนั้น ๆ ให้เป็นยานรบได้

2. ยานเกราะ (Armored vehicle) หมายถึงยานใด ๆ ที่มีเกราะหุ้ม ใช้ในการลำเลียงพล การลาดตระเวน และการรบ

3. รถเกราะ (Armored car) หมายถึง ยานยนต์ประเภทล้อที่ตัวรถมีเกราะหุ้ม ติดตั้งอาวุธปืนกล ปืนใหญ่ หรือขีปนาวุธ หรือทั้ง 3 อย่างผสมกัน ออกแบบมาเพื่อให้มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง มีอำนาจการยิงที่มีเกราะป้องกัน ใช้ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน กำบัง ไล่ติดตาม ขยายผล และระวังป้องกัน

4. รถถัง (Tank) หมายถึง ยานยนต์ประเภทสายพานหุ้มเกราะที่มีน้ำหนักมาก ติดตั้งอาวุธปืนกล ปืนใหญ่ หรือขีปนาวุธ หรือทั้ง 3 อย่างผสมกัน เป็นยานรบหลัก ในการเข้าตีของหน่วยยานเกราะ โดยผสมผสานอำนาจการยิงที่มีเกราะป้องกัน ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ อำนาจทำลาย และ ข่มขวัญ เข้าด้วยกัน

การแบ่งประเภทรถถัง

     นักการทหาร ได้แบ่งประเภทรถถังออกเป็นขนาดต่างๆ ตามจำนวนพลประจำรถ น้ำหนัก ขนาดกว้างปากลำกล้องปืนใหญ่ และความหนาของแผ่นเกราะ ตามยุคสมัยต่างๆ ดังนี้.-
     1. ระหว่างปี ค.ศ. 1917-1930 แบ่งเป็น
         1.1 รถถังเบา (Light tank) ได้แก่ รถถังที่มีพลประจำรถ 2 คน
         1.2 รถถังกลาง (Medium tank ) ได้แก่ รถถังที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 ตัน
         1.3 รถถังหนัก (Heavy tank) ได้แก่ รถถังที่มีน้ำหนัก 25 ตันขึ้นไป

     2. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) แบ่งประเภทรถถังตามน้ำหนัก ความหนาของแผ่นเกราะ และมุมเอียงของลาดด้านหน้าของแผ่นเกราะ ดังนี้.-
          2.1 รถถังเบา (Light tank) มีน้ำหนักระหว่าง 15-20 ตัน ความหนาของแผ่นเกราะด้านหน้า 1.0-1.5 นิ้ว ความหนาของแผ่นเกราะด้านข้าง 0.75-1.0 นิ้ว ลาดด้านหน้าทำมุม 45-60 องศา
          2.2 รถถังกลาง (Medium tank) มีน้ำหนักระหว่าง 25-45 ตัน ความหนาของ แผ่นเกราะ
ด้านหน้า 2.0–4.0 นิ้ว ความหนาของแผ่นเกราะด้านข้าง 1.5-2.0 นิ้ว ลาดด้านหน้าทำมุม 50-60 องศา
          2.3 รถถังหนัก (Heavy tank) มีน้ำหนักระหว่าง 50-65 ตัน ความหนาของแผ่นเกราะด้านหน้า 4.0-6.0 นิ้ว ความหนาของแผ่นเกราะด้านข้าง 2.0-3.0 นิ้ว ลาดด้านหน้าทำมุม 50-70 องศา

     3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน นักการทหารได้ แบ่งรถถังเป็น 2 ประเภท โดยยึดถือน้ำหนัก และขนาดความกว้างของปากลำกล้องปืนใหญ่ เป็นเกณฑ์ ดังนี้.-
         3.1 รถถังเบา หรือรถถังลาดตระเวน (Light tank or reconnaissance tank) มีน้ำหนักระหว่าง 9-25 ตัน ขนาดความกว้างของปากลำกล้องปืนใหญ่ 76-90 มม. (ยกเว้นรถถังเบารุ่นใหม่ที่ออกแบบให้ติดตั้งระบบขีปนาวุธ หรืออาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น เช่น ปถ.105 มม. เป็นต้น)
         3.2 รถถังหลัก (Main battle tank) มีน้ำหนักระหว่าง 37-50 ตัน ขึ้นไป ขนาดความกว้างของปากลำกล้องปืนใหญ่ 90 มม. ขึ้นไป

     4. รถถัง แตกต่างจาก ยานรบประเภทรถเกราะ รถลาดตระเวน รถสายพานลำเลียงพล และปืนใหญ่อัตตาจร ตรงที่ยานรบประเภทหลัง ไม่มีคุณลักษณะ ขีดความสามารถตามที่รถถังมี ได้ครบ ทุกอย่าง

ภาพประวัติศาสตร์ จากการสู้รบกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส

รถถังเรโนลท์ ยูอี 5 คัน ที่จับยึดมาได้ในสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส ตั้งแสดงที่ท้องสนามหลวง

 

เครื่องบินอินโดจีนฝรั่งเศส 1 เครื่อง ซึ่งจับยึดได้ที่สงขลา ตั้งแสดงพร้อมกับรถถังเรโนลท์

 

จอมพล ป.พิบูลสงคราม ชมธงชัยเฉลิมพลประดับเหรียญครัวเดอแกร์ ของข้าศึกที่ไทยจับยึดได้

 

 

เชลยศึกทหารฝรั่งเศสที่กองทัพไทยจับได้ทางภาคบูรพา (ประเทศกัมพูชา)