Get Adobe Flash player

จำนวนสมาชิกชมรม

สถิติผู้เข้าชม

000214414
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
27
30
155
213759
1927
707
214414

Your IP: 18.118.195.162
Server Time: 2024-04-19 11:18:00

ผู้ใช้งานในขณะนี้

มี 5 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

รถถังเบา เอ็ม 24

รถถังเบา เอ็ม 24 (Light tank, M24, Chaffee) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง 7 ปี (พ.ศ. 2495) กองทัพบกไทย ได้เข้าอยู่ในโครงการช่วยเหลือทางทหาร (Military Assistant Program, MAP.) ของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้รับรถถังเบา เอ็ม 24 เข้ามาใช้อีกรุ่นหนึ่ง รถถังรุ่นนี้ไม่ได้รับการตั้งชื่อตามปี พ.ศ. ที่นำเข้าประจำการเหมือนรถถังรุ่นก่อนๆ โดยใช้การเรียกชื่อทับศัพท์ตามชื่อเดิม รถถังแบบนี้ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Chaffee” ตามชื่อ พลเอก A.R. Chaffee ผู้ริเริ่มก่อตั้งหน่วยยานเกราะสหรัฐฯ และในปี พ.ศ. 2495 นี้ ยังเป็นปีก่อกำเนิดของโรงเรียนยานกราะกองทัพบกไทยอีกด้วย และได้มีการจัดตั้งกองร้อยรถถังแบบนี้ เมื่อรถถังเบา เอ็ม 24 เริ่มทยอยเข้าประจำการในปี ต่อๆ มา รถถังเบา เอ็ม 24 ปลดประจำการใน ปี พ.ศ. 2505 เมื่อได้รับรถถัง เอ็ม 41 เอ 3

ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง ) 2.90/4.99/2.45 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 20.5 เมตริกตัน
พลประจำรถ 5 คน
อาวุธประจำรถ ปืนใหญ่รถถัง ขนาด 75 มม. 1 กระบอก
(มีเครื่องรักษาการทรงตัวของปืน)
ปืนกลขนาด .30 นิ้ว 2 กระบอก
ปืนกลขนาด .50 นิ้ว 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, คาดิลแลค 8 สูบ กำลัง 220 แรงม้า
(2 เครื่องๆ ละ 110 แรงม้า)
ความเร็วสูงสุดบนถนน 56 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.)
ระยะปฏิบัติการ 240 กม. (150 ไมล์)
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 416.35 ลิตร (110 ยูเอส แกลลอน )

รถถังเบา แบบ 81

รถถังเบา แบบ 81 (Light tank Vickers 6 ton, Type B) ในปี พ.ศ. 2481 กองทัพบกได้สั่งซื้อรถถังขนาดเบา แบบ “Vickers 6 ton, Type B” จากประเทศอังกฤษเข้ามาใช้อีก 12 คัน แต่ได้มาเพียง 8 คัน รถนี้สร้างโดย บริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง รถรุ่นนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับ รถถังเบา แบบ 76 แต่มีน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อย มีชื่อทางราชการว่า “รถถังเบา แบบ 81”และปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2495

ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง ) 2.41/4.58/2.19 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 8.0 เมตริกตัน
พลประจำรถ 3 คน
อาวุธประจำรถ ปืนใหญ่รถถัง ขนาด 47 มม. 1 กระบอก
ปืนกล ขนาด 7.7 มม. 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, อาร์มสตรอง ซิดเดลีย์ 4 สูบ กำลัง 87 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน 32 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 180 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 185 ลิตร

………………………….

รถถังเบา แบบ 77

รถถังเบา แบบ 77 (Light tank Carden Loyd Mk. 6, Modified) ในปี พ.ศ. 2477 กองทัพบกได้สั่งซื้อรถถัง จากประเทศอังกฤษ เข้ามาใช้อีก 30 คัน เป็นรถถังเบาขนาดจิ๋ว แบบ “Carden Loyd Mk 6 , Modified” สร้างโดย บริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง รถรุ่นนี้ดัดแปลงจาก รถถังเบา แบบ 73 โดยเพิ่มเติมส่วนประกอบบางรายการขึ้น ดังที่เห็น จึงมีขนาด และน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงใช้เครื่องยนต์แบบเดิม มีชื่อทางราชการว่า “รถถังเบาแบบ 77” และปลดประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2495

ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง) 1.73/2.53/1.28 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 2.1 เมตริกตัน
พลประจำรถ 2 คน
อาวุธประจำรถ ปืนกลขนาด 7.7 มม. 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, ฟอร์ด 4 สูบ กำลัง 22 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน 45 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 160 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 45 ลิตร

………………………….

รถถังเบา แบบ 83

รถถังเบา แบบ 83  (Light tank, Type 95, HAGO) ในปี พ.ศ. 2483  ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นสงครามอินโดจีน  กองทัพบกได้สั่งซื้อรถถังขนาดเบา แบบ 95  “Type 95, HAGO” จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้อีก 50 คัน  รถนี้สร้างโดย บริษัท มิตซูบิชิ  มีชื่อทางราชการว่า “รถถังเบา แบบ 83” และปลดประจำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2495  รถถังเบา แบบ 83 มีบทบาทในสงครามอินโดจีน และมหาเอเซียบูรพา ระหว่างปี พ.ศ. 2483 – 2488

 

ข้อมูลของรถ

ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง )                                     2.10/4.50/2.20    เมตร

น้ำหนักพร้อมรบ                                             7.5             เมตริกตัน   

พลประจำรถ                                                  3                คน

อาวุธประจำรถ  ปืนใหญ่รถถัง ขนาด 37 มม.           1                กระบอก  

                               ปืนกล ขนาด 7.7 มม.                  2                กระบอก

เครื่องยนต์ดีเซล, มิตซูบิชิ NVD6120 6 สูบ กำลัง      120                  แรงม้า

ความเร็วสูงสุดบนถนน                                      35              กม./ชม.

ระยะปฏิบัติการ                                              250             กม.

ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง                              140              ลิตร

 

………………………….

 

รถถังเบา แบ83  (Light tank, Type 95, HAGO) ในปี พ.. 2483  ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นสงครามอินโดจีน  กองทัพบกได้สั่งซื้อรถถังขนาดเบา แบบ 95  “Type 95, HAGO” จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้อีก 50 คัน  รถนี้สร้างโดย บริษัท มิตซูบิชิ  มีชื่อทางราชการว่า รถถังเบา แบบ 83” และปลดประจำการเมื่อ ปี พ.. 2495  รถถังเบา แบบ 83 มีบทบาทในสงครามอินโดจีน และมหาเอเซียบูรพา ระหว่างปี พ.. 2483 – 2488

 

ข้อมูลของรถ

ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง )                                     2.10/4.50/2.20    เมตร

น้ำหนักพร้อมรบ                                             7.5             เมตริกตัน  

พลประจำรถ                                                  3                         คน

อาวุธประจำรถ  ปืนใหญ่รถถัง ขนาด 37 มม.           1                   กระบอก 

                               ปืนกล ขนาด 7.7 มม.                  2                          กระบอก

เครื่องยนต์ดีเซล, มิตซูบิชิ NVD6120 6 สูบ กำลัง      120                  แรงม้า

ความเร็วสูงสุดบนถนน                                      35              กม./ชม.

ระยะปฏิบัติการ                                              250                      กม.

ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง                              140              ลิตร

 

………………………….

 

รถถังเบา แบบ 76

รถถังเบา แบบ 76 (Light tank Carden Loyd 6 ton, Mk E) ในปี พ.ศ. 2476 นี้ นอกจากรถถังลอยน้ำ แบบ 76 แล้ว กองทัพบกยังได้สั่งซื้อรถถังขนาดเบา แบบ “Carden Loyd 6 ton, Mk E” จากประเทศอังกฤษ เข้ามาใช้อีกรุ่นหนึ่ง จำนวน 10 คัน รถนี้สร้างโดย บริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง เช่นเดียวกัน มีชื่อเล่นว่า “ไอ้โกร่ง” มีชื่อทางราชการว่า “รถถังเบาแบบ 76” รถถังรุ่นนี้ปลดประจำการเมื่อ ปี พ.ศ. 2495
รถถังเบา แบบ 76 เคยมีบทบาทในสงครามมาแล้ว โดยเข้าร่วมทำการรบในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ในระหว่างเดือน ธ.ค. 2483 ถึง เดือน เม.ย. 2484 โดยเฉพาะการรบที่สมรภูมิบ้านพร้าว

ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง) 2.41/4.58/2.19 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 7.5 เมตริกตัน
พลประจำรถ 3 คน
อาวุธประจำรถ ปืนใหญ่รถถัง ขนาด 47 มม. 1 กระบอก
ปืนกล ขนาด 7.7 มม. 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, อาร์มสตรอง ซิดเดลีย์ 4 สูบ กำลัง 95 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน 35 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 180 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 185 ลิตร

………………………….