ทหารหมวกแดง

     ในอดีตที่ผ่านมาบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณได้ต่อสู้เพื่อปกป้องเอกราชของบ้านเมืองมาหลายต่อหลายครั้งแต่ละครั้งประวัติศาสตร์ได้จารึกถึงเกียรติประวัติของเหล่าวีระบุรุษผู้กล้าให้อนุชนร่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่างมิใช่แต่เพียงความกล้าหาญและการเสียสละ เท่านั้นพวกเรายังได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์การรบในสมรภูมิต่าง ๆซึ่งได้พัฒนารูปแบบมาจน เป็นสงครามพิเศษในปัจจุบันจากภาวะสงครามอันเนื่องมาจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมุ่งกระทำต่อภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ประเทศไทยไม่อาจรอดพ้นจากภัยคุกคามดังกล่าวได้การต่อสู้ระหว่างโลกเสรีกับคอมมิวนิสต์ได้ขยายตัวและเกิดขึ้นในหลาย ๆ ทุกภูมิภาคของโลก จนทำให้ในที่สุดกลุ่มประเทศอินโดจีนต้องอยู่ภายใต้การยึดครองของคอมมิวนิสต์และภัยคุกคามดังกล่าว ได้คืบคลานเข้าสู่ประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเหลี่ยงบทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอินโดจีนที่ได้มีการใช้กำลังประชาชน ในรูปแบบต่าง ๆ และ ที่สำคัญคือประเทศที่มีศักยภาพที่เหนือกว่าต้อง เพลี่ยงพล้ำแก่ประเทศที่มีศักยภาพทางทหาร ที่ด้อยกว่าด้วยการใช้การสงครามพิเศษและการปฏิบัติของหน่วยรบพิเศษ อย่างได้ผลกองทัพบกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการปฏิบัติการสงครามพิเศษที่จะสามารถเผชิญและลดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศได้จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้น เป็นหน่วยแรก

     เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2497 ที่บ้านป่าหวายตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี  ใช้ชื่อว่า " กองพันทหารพลร่ม"หรือที่รู้จักกันดีในนามของ"พลร่มป่าหวาย"ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 หลังวันเสียงปืนแตก ที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้เริ่มทำสงครามประชาชน เพื่อล้มล้างรัฐบาลกองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าต่อสู้กับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ภายในประเทศและเพื่อเกิดเอกภาพในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 กองทัพบกได้จัดตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ

     1. วางแผน ดำเนินการ กำกับการ และดำเนินการฝึกศึกษาเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ

     2. ดำเนินการ วิจัย พัฒนา กำหนดหลักนิยม และทำตำราในทางิวทยการที่เกี่ยวข้อง

     3. ปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนดโดยมีผู้บัญชาการศูนย์ สงครามพิเศษ เป็นผู้รับผิดชอบ

     ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 สถานการณ์การต่อสู้ด้วยอาวุธภายในประเทศ ได้เบาบางลงขณะเดียวกันประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศกองทัพบกจึงได้จัดตั้ง หน่วยรบพิเศษเข้าปฏิบัติการ และได้จัดตั้ง กองพลรบพิเศษที่ 1, กองพลรบพิเศษที่ 2 เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ.2526 ได้มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษสงครามพิเศษขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยบังคับบัญชากำลังรบพิเศษทั้งปวงแทนศูนย์สงครามพิเศษโดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึก ศึกษา เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์สู้รบในอดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆของบ้านเมืองในขณะเดียวกันได้เร่งรัดพัฒนาการจัดหน่วยให้มีขีดความสาจนเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในปัจจุบันเทียบเท่ากองทัพภาคมีภารกิจเกี่ยวกับ การสงครามพิเศษทั้งปวงตั้งแต่การวางแผน อำนวยการ กำกับการทั้งด้านการ ฝึกศึกษา และการ ปฏิบัติงานเป็นหน่วยหวังผลทางยุทธศาสตร์มีบทบาทในการออมกำลังและชดเชยอำนาจกำลังรบที่เสียเปรียบการปฏิบัติงานของหน่วยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยามปกติในพื้นที่รับผิดชอบ


ที่มา : http://km.rta.mi.th/newkm/index.php/menu-km1/24-article01