ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ชกท.

ระบบหมายเลขความชำนาญการทางทหาร

ความหมาย ใช้คำย่อว่า “ชกท.” หมายถึง   กลุ่มตัวเลขอันมีความหมายระบุถึงวุฒิและความชำนาญการในหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ

ความมุ่งหมาย

. เพื่อความสะดวกในการแบ่งประเภทกำลังพลได้ตามลักษณะคุณวุฒิ และความชำนาญในหน้าที่

๒. เกิดความสะดวกในการพิจารณาตรวจสอบกำลังพล เพื่อการบันทึกประวัติการรายงานการควบคุมกำลังพล การแยกประเภทงานเพื่อนำไปใช้ในการพิจารณาวางแผนเกี่ยวกับการฝึกศึกษาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และใช้เป็นหลักในการกำหนดอัตราการจัดกำลังและยุทโธปกรณ์ และอัตรากำลังพลอื่น ๆ

๓. อำนวยการให้การจัดการกำลังพลได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดคุ้มค่าสามารถใช้กำลังพลได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับงานและความ ชำนาญงานของแต่ละบุคคล อันจะยังผลและประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด

การใช้ระบบหมายเลข ชกท. ใช้ทั้งนายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และพลทหาร

การให้หมายเลข ชกท. มี ๒ วิธี

๑. ด้วยการศึกษาอบรม หลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ จะมีหมายเลข ชกท. ประจำหลักสูตรอยู่ สำหรับหมายเลข ชกท. ติดตัวนายทหารสัญญาบัตรจะได้จากการศึกษาหลักสูตรชั้นนายร้อยและชั้นนายพัน ส่วนนายทหารชั้นประทวน จะมีเฉพาะผู้ที่ผ่านการศึกษาเป็น นนส. เท่านั้น ตามหมายเลข ชกท.ประจำหลักสูตร

๒. ด้วยการฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ตาม ชกท. ที่จะได้รับ และจะกระทำได้เมื่อไม่มีการเปิดการศึกษาอบรมที่เหล่า หรือหน่วยตามสายวิทยาการ ผบ.หน่วย ชั้น ผบ.พล หรือเทียบเท่า เป็นผู้ออกคำสั่งให้ ฝึกปฏิบัติหน้าที่ และให้มีระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับหมายเลข ชกท. ที่จะได้รับ

การ หมดสภาพหมายเลข ชกท. หากกำลังพลผู้ใดมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งใน ชกท. ที่ได้รับนั้น มีระยะเวลานาน โดย นายทหารสัญญาบัตร ๓ ปีขึ้นไป และนายทหารประทวน ๑ ปีขึ้นไป ให้ปลดหมายเลข ชกท.นั้นออกเว้นที่เป็นหมายเลข ชกท. ติดตัว

 

 

การย้ายผิด ชกท.

กระทำ ได้เมื่อกำลังพลนั้น ๆ ได้รับการศึกษาอบรม หรือฝึกปฏิบัติงานจนครบหลักเกณฑ์ที่จะได้รับ ชกท. ใหม่แล้ว ทั้งนี้เว้นนายทหารที่สำเร็จจาก รร.สธ.ทบ.หลักสูตรหลักประจำ ให้พิจารณาบรรจุตำแหน่ง ฝสธ. ใน ทบ.ได้ทุกตำแหน่ง (ชกท. ที่เป็น ฝสธ.) โดยไม่ต้องศึกษาอบรมหรือฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ตาม ชกท.

หรับ นายทหารที่สำเร็จจาก วทบ. จะได้รับเลข ชกท.๐๐๑๐ หรือ ๐๐๑๑ ซึ่งจะไม่ใช้ในการปรับย้าย แต่จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการพิจารณาสำหรับนายทหารที่จะเจริญก้าวหน้าเป็น นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของ ทบ. ต่อไป

หมายเลข ชกท. นายทหารสัญญาบัตร

๑. ประกอบด้วยกลุ่มตัวเลขหลัก ๔ ตัว

๒. เลขตัวแรก หมายถึง ประเภทงานใน ทบ.

ตัวเลข ๐ ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ งานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และการขนส่ง

ตัวเลข ๑ งานที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา และการรบ

ตัวเลข ๒ งานเกี่ยวกับธุรการ, การบริหาร และการฝึก

ตัวเลข ๓ งานเกี่ยวกับการแพทย์ และสุขาภิบาล

ตัวเลข ๔ งานเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง

ตัวเลข ๕ งานเกี่ยวกับสวัสดิภาพ และการสวัสดิการ

ตัวเลข ๖ งานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการงบประมาณ

ตัวเลข ๗ งานทางเทคนิคด้านวิศวกรรม และเทคนิคที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรม

ตัวเลข ๘ งานด้านวิทยาศาสตร์

ตัวเลข ๙ งานเกี่ยวกับด้านการข่าว

๓. ตัวเลข ๓ ตัวหลัง แสดงถึงขีดความชำนาญงานของแต่ละประเภทงานนั้น เช่น

๐๐๐๑  นายทหารที่ยังไม่ได้รับการบรรจุเข้าครองตำแหน่งตามอัตราหรือยังไม่สามารถกำหนดหมายเลข ชกท.ใด ๆ ให้ได้

๐๐๐๒  นายทหารชั้นนายพล และ พ.อ.พิเศษ

๐๐๐๖  นายทหารนักเรียน

๐๐๐๗  นายทหารที่กระทำความผิด หรือบกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่ เช่นตำแหน่งประจำ, ตำแหน่งสำรองราชการ

๐๐๐๙ นายทหารที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตำแหน่ง ประจำ

๐๐๑๐  นายทหารที่สำเร็จจาก วทบ. (หลักสูตรหลัก)

๔. นอกจากนี้ยังมีตัวเลขนำ สำหรับงานบางตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งจะต้องบรรจุผู้มีคุณวุฒิเป็นพิเศษ คือ

ตัวเลข ๑   เจ้าหน้าที่สงครามจิตวิทยา

ตัวเลข ๒ เจ้าหน้าที่ข่าวกรองทางเทคนิค

ตัวเลข ๓ เจ้าหน้าที่การรบพิเศษ

ตัวเลข ๔ เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาการ

ตัวเลข ๕ อาวุธปรมาณู

ตัวเลข ๖ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการบนเครื่องบิน

ตัวเลข ๗ พลร่ม

ตัวเลข ๘ ครู

ตัวอย่าง          ผู้บังคับหน่วยทหารราบ                      ชกท.๑๕๔๒

ผู้บังคับหน่วยทหารราบพลร่ม                ชกท.๗-๑๕๔๒

๕. ความหมายของเลขตัวที่ ๒ เรียงตามลำดับเลขตัวแรก

๕.๑ ตัวเลขแรก ๐ ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ และงานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการขนส่ง

(๑) ตัวเลข ๐ ไปรษณีย์

(๒) ตัวเลข ๑ อิเล็กทรอนิกส์

(๓) ตัวเลข ๒ สื่อสาร

(๔) ตัวเลข ๔ โทรศัพท์และโทรพิมพ์ แบตเตอรี เคเบิล

(๕) ตัวเลข ๕ การวิทยุ

(๖) ตัวเลข ๖ ขนส่ง

(๗) ตัวเลข ๗ การรถไฟ

(๘) ตัวเลข ๘ เรือและท่าเรือ

๕.๒ ตัวเลขแรก ๑ งานที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา และการรบ

(๑) ตัวเลข ๑ ปืนใหญ่ จรวด

(๒) ตัวเลข ๒ ม้า ยานเกราะ

(๓) ตัวเลข ๓ ช่าง

(๔) ตัวเลข ๔ ทำควัน

(๕) ตัวเลข ๕ ราบ

(๖) ตัวเลข ๗ ปรมาณู

(๗) ตัวเลข ๙ นักบิน      

๕.๓ ตัวเลขแรก ๒ งานเกี่ยวกับธุรการ, การบริหาร และการฝึก

(๑) ตัวเลข ๐ ฝ่ายอำนวยการ

(๒) ตัวเลข ๑ สบ., ธก., สง., หน.หน่วยที่ไม่ใช่หน่วย ยว., ฝอ.

(๓) ตัวเลข ๒ กำลังพล

(๔) ตัวเลข ๓ สัสดี, คัดเลือกคน, แรงงานพลเรือน

(๕) ตัวเลข ๔ ทะเบียนประวัติ, ประวัติศาสตร์

(๖) ตัวเลข ๕ ฝึก ศึกษา

(๗) ตัวเลข ๖ จ่าศาล, เทคนิค&นโยบาย, ทำอัตรา, กบ., เคลื่อนย้าย

(๘) ตัวเลข ๗ ครู, อจ.

(๙) ตัวเลข ๘ ทำตำรา&แบบฝึก, ครู

(๑๐) ตัวเลข ๙ หน.บก., ผบ.ร้อย.บร.

๕.๔ ตัวเลขแรก ๓ งานเกี่ยวกับการแพทย์ และสุขาภิบาล

(๑) ตัวเลข ๐ ฝอ., นิวเคลียร์, เวชกรรมป้องกัน, อุตสาหกรรม

(๒) ตัวเลข ๑ แพทย์สาขาต่าง ๆ

(๓) ตัวเลข ๒ สัตวแพทย์, หน้าที่ด้านอาหาร

(๔) ตัวเลข ๓ ห้องปฏิบัติการ, จุลินทรีย์, ห้องปฏิบัติการรังสี, เคมี, ปาราสิต, เทคนิคการแพทย์, กีฏวิทยา, โภชนาการ, พยาธิ, สรีระ, ตรวจสายตา

(๕) ตัวเลข ๔ ชีวะบำบัด, กายภาพบำบัด, อาหารวิทยา รพ., พยาบาล

(๖) ตัวเลข ๕ ผบ.หน่วยรักษาพยาบาล, น.พยาบาล

(๗) ตัวเลข ๖ สังคมสงเคราะห์

๕.๕ ตัวเลขแรก ๔ งานเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง

(๑) ตัวเลข ๐ ส่งกำลัง, ฝพธ.

(๒) ตัวเลข ๑ อาหาร

(๓) ตัวเลข ๒ ร้านค้า, พธ.ประจำที่ตั้ง, การขาย, เกียกกาย

(๔) ตัวเลข ๓ จัดซื้อ, อสังหาฯ, ควบคุมการผลิต&อุตสาหกรรม, สัตวภัณฑ์, การสัตว์

(๕) ตัวเลข ๔ สาย ส., ตปท., บรรจุหีบห่อ, พธ., คลัง, ขส., พ.

(๖) ตัวเลข ๕ สพ., เคมี

(๗) ตัวเลข ๖ รวบรวม, ซ่อม, แจกจ่าย

(๘) ตัวเลข ๗ เครื่องทำความเย็น

(๙) ตัวเลข ๘ ซบร.สาย สพ., ยานยนต์, เครื่องควบคุมการยิง, ยาง, ร่ม, อากาศยาน, การซักฟอก, รถไฟ, หม้อน้ำ, เครื่องเหล็ก, ช., หล่อหลอมโลหะ, สาย สร., แว่นตา, โลหะแผ่นและท่อต่อ

(๑๐) ตัวเลข ๙ ประปา, ป่าไม้, เครื่องทำแก๊ส, ผลิตผลปิโตรเลียม

๕.๖ ตัวเลขแรก ๕ งานเกี่ยวกับสวัสดิภาพ และการสวัสดิการ

(๑) ตัวเลข ๐ สวัสดิการ, บำรุงความรู้

(๒) ตัวเลข ๒ ดย.

(๓) ตัวเลข ๓ อศจ.

(๔) ตัวเลข ๔ การพิมพ์, ปชส.

(๕) ตัวเลข ๕ การศึกษาฝ่ายพลเรือน, แถลงข่าว, วิทยุกระจายเสียง, ปรับสภาพร่างกาย

๕.๗ ตัวเลขแรก ๖ งานเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการงบประมาณ

(๑) ตัวเลข ๐ ปช., การคลัง

(๒) ตัวเลข ๑ กง.&บช., บช., ตรวจบัญชี

(๓) ตัวเลข ๒ กง.ฝอ., ธนารักษ์,

(๔) ตัวเลข ๓ กง., งบประมาณ

(๕) ตัวเลข ๔ สถิติ, เศรษฐกิจ

๕.๘ ตัวเลขแรก ๗ งานทางเทคนิคด้านวิศวกรรม และเทคนิคที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรม

(๑) ตัวเลข ๐ ผบ.ช.พล, ช.ประจำส่วนอำนวยการ, ช.สาธารณะและสาธารณูปโภค, อุปกรณ์ถ่ายภาพ

(๒) ตัวเลข ๑ ช.ก่อสร้าง, ซบร.สาธารณูปโภค, ช.ยย., ช.กำกับการทาง

(๓) ตัวเลข ๒ ซบร.เรือ, ท่าเรือ, อู่เรือ, ประดาน้ำ

(๔) ตัวเลข ๓ เคมี, ฟิสิกส์, โลหะกิจ, อนินทรีย์เคมี, ผลิตยุทโธปกรณ์, ประเมินผลนิวเคลียร์, ห้องทดลองผลิตผลปิโตรเลียม

(๕) ตัวเลข ๔ ฝ่ายการผลิต, ป้องกันอันตราย

(๖) ตัวเลข ๕ เครื่องกล, เครื่องปรับอากาศ&เครื่องทำความเย็น, ทดสอบยุทโธปกรณ์สาย สพ.

(๗) ตัวเลข ๖ อิเล็กทรอนิกส์, ไฟฟ้า

(๘) ตัวเลข ๗ ทางสาย

(๙) ตัวเลข ๘ วิทยุ

(๑๐) ตัวเลข ๙ โยธา, มวลดิน, สำรวจ, ภูมิมาปนวิทยา, แผนที่, ก่อสร่างฝ่ายการรถไฟ, ปิโตรเลียม, ท่อ, ธรณี, สุขาภิบาล

๕.๙ ตัวเลขแรก ๘ งานด้านวิทยาศาสตร์

(๑) ตัวเลข ๐ เศรษฐกิจ

(๒) ตัวเลข ๑ กฎหมาย

(๓) ตัวเลข ๒ อุตุ

(๔) ตัวเลข ๓ ภูมิศาสตร์

(๕) ตัวเลข ๕ ภาพถ่าย. ภาพถ่ายทางอากาศ, ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และโทรทัศน์

๕.๑๐ ตัวเลขแรก ๙ งานเกี่ยวกับด้านการข่าว

(๑) ตัวเลข ๑ ทหารสารวัตร, พิสูจน์หลักฐาน, ผบ.หน่วยรักษาการณ์

(๒) ตัวเลข ๒ ให้ความปลอดภัยแก่หน่วยยุทธปัจจัย, ทำลายวัตถุระเบิด

(๓) ตัวเลข ๓ ขว., ผชท., สจว., โฆษณาชวนเชื่อภาษาต่างประเทศ, จเร, ซักถามเชลยศึก, ทำเนียบกำลังรบ, สืบสวนสอบสวน, การแปล, ล่าม, ตรวจข่าว, ประสานข่าวกรองทางเทคนิค, รปภ., น.ช่างพราง

(๔) ตัวเลข ๓ ภูมิศาสตร์

(๕) ตัวเลข ๕ ภาพถ่าย. ภาพถ่ายทางอากาศ, ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และโทรทัศน์

หมายเลข ชกท. นายทหารประทวน และพลทหาร ประกอบด้วยกลุ่มตัวเลขหลัก ๓ ตัว และตัวเลขหลังจุดทศนิยมอีก ๑ ตัว รวม ๔ ตัว

ตัวเลขตัวที่ ๑ หมายถึงประเภทงาน มีตั้งแต่ ๑ ถึง ๐

ตัวเลข ๑   ประเภทรบ,            

ตัวเลข ๒   ประเภทอิเล็กทรอนิกส์,

ตัวเลข ๓   ประเภทไฟฟ้า,      

ตัวเลข ๔   ความประณีต,

ตัวเลข ๕   การฝีมือ,                

ตัวเลข ๖   เครื่องจักรกล,

ตัวเลข ๗   งานเสมียน,            

ตัวเลข ๘   แผนภาพ,

ตัวเลข ๙   ประเภทเทคนิค,    

ตัวเลข ๐     ประเภทพิเศษ

ตัวเลขตัวที่ ๒ ได้จากการแบ่งงานแต่ละประเภทออกเป็นจำพวก เช่น ๑๐ ประเภททั่วไป, ๑๑ ทหารราบ, ๑๒ ทหารช่าง, ๑๓ ทหารยานเกราะ, ๑๔ ทหารปืนใหญ่, ๑๕ ทหารม้า

ตัวเลขตัวที่ ๓ ได้จากการแบ่งงานแต่ละจำพวกออกเป็นหน้าที่ย่อย เช่น ๑๑๑ ทหารราบอาวุธเบา, ๑๑๒ ทหารราบอาวุธหนัก, ๑๑๓ นายสิบยุทธการและการข่าวทหารราบ, ๑๓๑ ทหารประจำยานเกราะ,   ๑๓๒ นายสิบยุทธการและการข่าวทหารยานเกราะ

เลข ชกท. ประกอบเป็นตัวหลังจุดทศนิยม ต่อท้ายกลุ่มตัวเลข ๓ ตัวแรก บอกชั้นยศของกำลังพลผู้นั้น

.๑ คือพลทหารปี ๑,  

.๒ คือพลทหารปี ๒,

.๓ คือ ส.ต.กองประจำการ หรือพลอาสาสมัคร,

.๔ คือ ส.ต.,

.๕ คือ ส.ท.,          

.๖ คือ ส.อ.,

.๗ คือ จ.ส.ต.,        

๘ คือ จ.ส.ท.,

.๙ คือ จ.ส.อ.,      

.๐ คือ จ.พิเศษ

ตัวอย่าง ชกท. ๖๔๐.๖ คือ พลขับรถ ยศ ส.อ.

ลักษณะการใช้เลข ชกท.

๑. ใช้ประกอบในการออกคำสั่งปรับย้าย

๒. ใช้ประกอบในการออกคำสั่งเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ นอกจากระบุชื่อหลักสูตรแล้ว ต้องกำหนดเลข ชกท. ซึ่งกำหนดไว้สำหรับหลักสูตรนั้นด้วย

๓. ประกาศนียบัตร รร.ทหารต่าง ๆ ต้องระบุเลข ชกท.ด้วย

๔. ตำแหน่งทุกตำแหน่งในอัตราของทุกหน่วย ต้องมีเลข ชกท.

๕. ทำเนียบและประวัติ ต้องมีการกรอกหมายเลข ชกท.ต่าง ๆ ได้รับเมื่อใด ด้วยวิธีใด