Get Adobe Flash player
Thai English French German Italian Portuguese Russian Spanish

สถิติผู้เข้าชม

001104444
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทั้งหมด
3
115
339
1103602
1959
1043
1104444

Your IP: 18.218.61.16
Server Time: 2024-04-25 00:25:57

ผุ้ใช้งานในขณะนี้

มี หนึ่งผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ประชารัฐ!!!เพื่อประเทศไทย

ปัจจุบัน “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” ได้มีเข้ามามี บทบาทสำคัญ ในการบริหารราชการแผ่นดินยุคใหม่ เพราะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการงบประมาณ ดูแลทรัพย์สินและกิจการต่างๆ ของชุมชน ทั้งทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจและสังคม เพื่ออำนวยประโยชน์สุขแก่ชุมชน อันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ของประชาชนโดยตรง เป็นกลจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนภาระกิจตามนโยบายของภาครัฐในทุกระดับ ดังนั้นหากรัฐบาลยิ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรนี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากเท่าไหร ่ก็ยิ่งจะประสบความสำเร็จในการบริหารปกครอง ประเทศได้ดีเท่านั้น อันส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อรัฐบาล อันเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารประเทศ อีกทั้งยังจะสะท้อนกลับมาเป็นคะแนนนิยมของผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งที่มี ต่อผู้สมัครผู้แทนราษฏร และพรรคการเมือง ครั้งต่อไป และกุญแจที่จะไขประตูสู่ความสำเร็จของภาระกิจอันสำคัญยิ่งนี้ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลักสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ 3 ส่วน นั่นก็คือ

1. นโยบายที่ดี มีประสิทธิภาพ และการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอในการ ดำเนินการตามนโยบายที่อำนวยประโยชน์ ที่ได้วางแผน หรือสัญญาไว้กับประชาชน
2. การนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มีประสิทธิผล และการประเมินผลการทำงาน รับรู้ถึงปัญหาและสภาพความเป็นไป สามารถติดตามความเคลื่อนไหวว่าภาระกิจที่มอบหมายไปนั้น ได้ถูกนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเป็นรูปธรรมหรือไม่ เพื่อสามารถกำหนดกลยุทธและแก้ไขปรับปรุง เพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ประเด็นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด นั้นคือวัดผลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและป็นระบบว่าการดำเนินการตามนโยบาย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ผลที่เกิดขึ้นส่งผลทางด้านบวกหรือลบ ต่อทัศนคติที่ประชาชนมีต่อคณะผู้บริหารและรัฐบาลอย่างไร มากหรือน้อยเท่าไหร่? ซึ่งจะส่งผลต่อความนิยมต่อพรรคการเมือง ต่อตัวผู้สมัคร สส.และ รัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หากเราสามารถสร้างกลไกที่จะควบคุม ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายภาครัฐที่ได้วางแผน ไว้ รวมถึงสร้างสามารถสำรวจดัชนี ชี้วัดความพึงพอใจของประชาชน อันเป็นผลสะท้อนสืบเนื่องจากการดำเนินการนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ว่ามีผล กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขาอย่างไร? ชอบหรือไม่? ก็จะเป็นข้อมูลที่ทรงคุณค่าของผู้บริหาร ระดับสูงที่ชาญฉลาด ใน การใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ วางแผน กำหนด ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการได้อย่างมั่นใจว่า จะประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายทั้งทางด้าน การเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน


คำว่า “ประชารัฐ” มีที่มาอย่างไร
1. มาจากเพลงชาติ ซึ่งมีใจความว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี………..”
2. มาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (แผนฯ 8)
3. มาจากชื่อ “ส่วนประสานเครือข่ายประชารัฐ” สำนักงานคณะกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)วัตถุประสงค์ของการพัฒนาประชารัฐ คือ
(1) เพื่อเสริมสร้างการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ การจัดการพัฒนาและการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ของทุกภาคส่วนของสังคมให้มากยิ่งขึ้น
(2) เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการการพัฒนาประเทศ
(3) เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐ ในการบริหารรัฐกิจ และการจัดการพัฒนาประเทศ
(4) เพื่อสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องในงานบริหารรัฐกิจ และการจัดการพัฒนาประเทศ ทั้งใน ด้านนโยบายและการปฏิบัติ
• ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชารัฐ มี 4 ข้อใหญ่ได้แก่
(1) การเสริมสร้างหลักการใช้บังคับกฏหมายที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ และปรัชญากฏหมาย โอกาสและสภาวะแวดล้อม ให้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
- การให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพ
- การจัดการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยสันติวิธี
- การสร้างเสริมสมรรถนะของประชาชนและพลังทางสังคม
(2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย 4
ยุทธศาสตร์ย่อย คือ
- การสร้างภาคีเพื่อการพัฒนา
- การปรับดุลยภาพการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
- การส่งเสริมท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
- การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรพัฒนาเอกชนและองศ์กรประชาชน
(3) การเพิ่มพูนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของภาครัฐ ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ย่อย ได้แก่
- การปรับปรุงบทบาทการบริหารจัดการของส่วนราชการ
- การปรับปรุงกระบวนการทางงบประมาณ
- การกำหนดให้จังหวัดมีบุคลากรที่มีความสามารถมากขึ้น
- การสร้างเกณฑ์ชี้วัดและระบบประเมินผลงาน
- การสร้างความรับผิดชอบทางการบริหาร
- การสร้างความโปร่งใส
- การปรับการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะ
- การพัฒนาด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ

(4) การสร้างความต่อเนื่องในการบริหารรัฐกิจ ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ย่อย ได้แก่
- การสร้างพันธมิตรเพื่อกำหนดระเบียบวาระแห่งชาติ
- การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมสร้างวิสัย ทัศน ์ร่วมกัน
“ส่วนประสานเครือข่ายประชารัฐ” สทบ. ได้กล่าวถึง “ประชารัฐ” ว่า
• เป็นการรวมพลัง 4 ฝ่ายหลักในสังคม ได้แก่
- ฝ่ายการเมือง
- ฝ่ายหน่วยงานรัฐ (ราชการ)
- ฝ่ายชุมชน (ประชาชน)
- ฝ่ายประชาสังคม (เอกชน)
• เป้าหมายประชารัฐ ประกอบด้วย
- สร้า้งความชอบธรรมในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ให้กับภาคประชาชน
- ผลักดันประสบการณ์ บทเรียนและภูมิปัญญาภาคประชาชน สู่นโยบายประเทศ
- สร้างการเมืองภาคพลเมือง เพื่อตรวจสอบการเมืองในระบบ
- ผนึกกำลัง “ประชารัฐ” อย่างมีศักดิ์ศรี และประกาศจุดยืน ของภาคประชาชนอย่างชัดเจน
ความหมายของ “ประชารัฐ” ที่สั้นที่สุด
“ประสานพลังทุกส่วนของ “ประชา” กับทุกส่วนของ “รัฐ”
เพื่อพัฒนาสังคมทุกระดับ” คติพจน์ “ประชารัฐ” ที่อาจนำ มาใช้เพื่อสื่อความหมายในมิติต่างๆ
“ประสานพลังทุกส่วน เพื่อมวลประชามุ่งพัฒนาสังคม”
“ร่วมด้วยช่วยกัน สรา้งสรรค์๋สังคม”
“มาร่วมมือรวมพลังกันเถิด อย่าเดินแยกอยู่ต่างหากเลย”
“รวมทุกพลังสร้างสรรค์ ไม่กีดกันผู้ใดออก”
“ระดับต่างๆ ของ “ประชารัฐ” อาจแยกได้ดังนี้
• ประชารัฐตำบล
• ประชารัฐเทศบาล
• ประชารัฐอำเภอ
• ประชารัฐจังหวัด
• ประชารัฐกลุ่มจังหวัด
• ประชารัฐส่วนกลาง
4 “ประชารัฐ” ประสานพลังทุกส่วนของประชากับทุกส่วนของรัฐ เพื่อพัฒนาสังคมทุกระดับ
“ประชารัฐ” ระดับท้องถิ่น (ตำบล/เทศบาล) สำคัญมาก ควรส่งเสริมอย่างยิ่ง ซึ่งมี
องค์ประกอบได้แก่
• ฝ่ายองค์กรประชาชนในท้องถิ่น (องค์กรชุมชน กลุ่ม ประชาคม ฯลฯ)
• ฝ่ายสถาบันในท้องถิ่น (วัด โรงเรียน องค์กรศาสนา สถานศึกษา ฯลฯ)
• ฝ่ายบริหารท้องถิ่น (อบต. เทศบาล กำ นัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ)
• ฝ่ายหน่วยงานรัฐ (ราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงาน รัฐจากส่วนกลาง ฯลฯ)
• ฝ่ายประชาสงัคมนอกท้ิองถิ่น (นักพัฒนา นักวิชาการ นักวิชาชีพ ธุรกิจ สื่อ ฯลฯ เี่ข้ามาสนับสนุนท้องถิ่น)
“ประชารัฐ” ระดับเหนือกว่าท้องถิ่น (อำเภอ จังหวัด ฯลฯ) ควรประกอบด้วย
• เครือข่าย “ประชารัฐ” ระดับท้องถิ่น (เครือข่ายประชารัฐ ตำ บล/ เทศบาล)
• “ประชารัฐ” ส่วนอื่นๆ (ประชาสังคมภูมิภาค ราชการภูมิภาค ฝ่ายการเมือง ภูมิภาค ฯลฯ)
“ประชารัฐ” ส่วนกลาง ควรประสานกันให้ดี ก่อนลงไปสนับสนุน “ประชารัฐ” ท้องถิ่น
ประชารัฐ ส่วนกลาง ประกอบด้วย
• ฝ่ายการเมือง (รัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี ฯลฯ)
• ฝ่ายหน่วยงานรัฐ (กระทรวง กรม องค์การมหาชน องค์การเฉพาะกิจ ฯลฯ)
• ฝ่ายชุมชน (เครือข่ายองค์กรชุมชนระดับชาติ ฯลฯ)
• ฝ่ายประชาสังคม (องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ธุรกิจ สื่อ ฯลฯ)
การประสาน “ประชารัฐ” ส่วนกลาง ควรประกอบด้วย
• การประสานทรัพยากร/ งบประมาณ ที่ไปสนับสนุนท้องถิ่น
• การประสานบุคลากร ที่ไปสนับสนุนท้องถิ่น
• การประสานกิจกรรม สนับสนุนท้องถิ่น
• การประสารการวัดผล / ติดตามผล / ประเมินผล ของการพัฒนาท้องถิ่น
• การประสานการศึกษาข้อมูลและระดมความคิด เพื่อเรียนรู้/ ทบทวน /แก้ไขปรับปรุง / พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2544 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน ชลบุรี
ไม่ควรลืมความหมายกว้างของ “ประชารัฐ” ตามที่ระบุในแผนฯ 8 ซึ่งอาจสรุป ลักษณะสำคัญได้ดังนี้
• ประชาชน ชุมชน และประชาสังคม มีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคม และประเทศ
• การบริหารจัดการและพัฒนาประเทศโดยภาครัฐ ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง จริงจัง และต่อเนื่อง ในทุกระดับ
• การดำเนินงานของภาครัฐ มีความสุจริต โปร่งใส ถูกต้อง มีประสิทธิผล คุณภาพ และประสิทธิภาพ รวมถึงการกระจายอำ นาจสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
• ทุกส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ร่วมเป็น “ภาคีการพัฒนา” โดยร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง สามารถสรุปความหมายของ “ประชารัฐ” โดยย่อได้ดังนี้
• “ประชารัฐ” ในความหมายแคบ คือ
- “ประชา” ร่วมกับ “รัฐ”
• “ ประชารัฐ “ ในความหมายกว้าง ได้แก่
- “รัฐ” ของ “ประชา”
(“รัฐ” ที่ “ประชา” รู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมสูง)
- “รัฐ” โดย “ประชา”
(“รัฐ” ที่ “ประชา” มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมส่วนรวม)
- “รัฐ” เพื่อ “ประชา”
(“รัฐ” ที่มีคุณธรรมและคุณภาพเพื่อประโยชน์สุขของ “ประชา”)
- “รัฐ” กับ “ประชา”
(“รัฐ” ที่สนับสนุนและรวมพลังกับ “ประชา” อย่างจริงจังกว้างขวางและต่อเนื่อง)