รถเกราะ เอ็ม 8
รถเกราะ เอ็ม 8 (Armored Car M8, Grey hound) รถเกราะแบบที่ 3 นี้ เป็นรถเกราะ 6 ล้อ แบบ M8, Grey hound สร้างโดย บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่กองทัพบกไม่ได้จัดซื้อโดยตรง แต่ได้รับโอนมาจากกรมตำรวจ จำนวน 25 คัน พร้อมกับรถเกราะ แบบ 92 เมื่อ พ.ศ. 2500
รถเกราะ เอ็ม 8 เคยประจำการอยู่ที่ ม.1 พัน.1 รอ. จำนวน 10 คัน มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายใน ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทุกครั้ง และใช้ในการปราบปราม ผกค. ทั้งในเขตพื้นที่ ทภ.4 และ ทภ.3 โดยเฉพาะที่จังหวัดน่าน ในช่วงปี พ.ศ. 2514 – 2515 ผกค. ได้ปฏิบัติการอย่างรุนแรง ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้ใช้รถนี้คุ้มครองการก่อสร้างถนนให้แก่กรมทางหลวงแผ่นดิน เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง จึงโอนไปให้กับ ม.พัน.16 เพื่อปฏิบัติการทางภาคใต้ และปลดประจำการที่นั่น ในปี พ.ศ. 2516
ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง) 2.54/5.0/2.25 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 8.0 เมตริกตัน
พลประจำรถ 4 คน
อาวุธประจำรถ ปืนใหญ่ ขนาด 37 มม. 1 กระบอก
ปืนกลร่วมแกน ขนาด .30 นิ้ว 1 กระบอก
ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน, เรียว โอ เอ 331, 6 สูบ กำลัง 142 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน 90 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 413 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 163 ลิตร
..................................
รถเกราะ วี 100
รถเกราะ วี 100 (Armored Car,M706 COMMANDO, V 100 ) รถเกราะ แบบที่ 4 นี้ เป็นรถเกราะ 4 ล้อ สร้างโดย บริษัท คาดิลแลค เกจ ประเทศสหรัฐอเมริกา กองทัพบกได้รับมาจากรัฐบาลสหรัฐ จำนวน 6 คัน เมื่อ พ.ศ. 2515 และเข้าประจำการที่ ม.1 พัน.1 รอ. เพื่อทดแทนรถเกราะ เอ็ม 8 ที่โอนไปให้กับ ม.พัน.16 เพื่อปฏิบัติการทางภาคใต้
ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง ) 2.54/5.0/2.25 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 8.0 เมตริกตัน
พลประจำรถ 2 คน
อาวุธประจำรถ ปืนกล ขนาด 7.62 มม. 2 กระบอก (ติดตั้งในป้อมปืน)
หรือ ปืนกล ขนาด 12.7 มม. 2 กระบอก (ติดตั้งในป้อมปืน)
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 8 สูบ กำลัง 191 แรงม้า ที่ 4,000 รอบ/นาที
ความเร็วสูงสุดบนถนน/ในน้ำ 99/4.8 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 680 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 300 ลิตร
..................................
รถเกราะ แบบ 92
รถเกราะ แบบ 92 (Armored Car Mk 1 Staghound) รถเกราะแบบที่ 2 ซึ่งกองทัพบกสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2492 จำนวน 25 คัน เป็นรถเกราะ 4 ล้อ แบบ Mk.1 Staghound สร้างโดย บริษัท เยนเนอรัล มอเตอร์ และมีชื่อทางราชการว่า รถเกราะ แบบ 92 ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ได้รับโอนจาก “ตำรวจรถถัง” อีก 23 คัน รวมเป็น 48 คัน รถเกราะ แบบ 92 ได้ใช้ราชการมาจนถึงปี พ.ศ. 2502 จึงได้เลิกใช้ และปลดประจำการไปเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2515
ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง) 2.75/5.45/2.20 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 11 เมตริกตัน
พลประจำรถ 4 คน
อาวุธประจำรถ ปืนกล ขนาด .50 นิ้ว 2 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน GMC, 6 สูบ กำลัง 194 แรงม้า (2 เครื่องๆ ละ 97 แรงม้า)
ความเร็วสูงสุดบนถนน 90 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 725 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 519 ลิตร
……………………..
รถเกราะ แบบ 74
รถเกราะ แบบ 74 (Armored Car, Morris) ในปี พ.ศ. 2474 กองทัพบกได้สั่งซื้อรถเกราะ จากประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ 6 คัน เป็นรถเกราะ “Morris” 6 ล้อ สร้างโดยบริษัท วิกเกอร์ อาร์มสตรอง มีชื่อทางราชการว่า รถเกราะ แบบ 74 และปลดประจำการเมื่อ พ.ศ. 2495
ข้อมูลของรถ
ขนาด (กว้าง/ยาว/สูง ) 1.85/5.65/2.37 เมตร
น้ำหนักพร้อมรบ 4 .026 เมตริกตัน
พลประจำรถ 3 คน
อาวุธประจำรถ ปืนกล ขนาด 8 มม. 1 กระบอก
เครื่องยนต์แก๊สโซลีน มอริส 4 สูบ กำลัง 35 แรงม้า
ความเร็วสูงสุดบนถนน 45 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 200 กม.
ความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง 38.59 ลิตร
……………………..